Last updated: 27 มี.ค. 2565 | 700 จำนวนผู้เข้าชม |
ก็คือศูนย์รถยนต์ยี่ห้อที่เราออกรถมา ซึ่งมีส่วนของงานบริการหลังการขายซ่อมบำรุงทั้งในระยะประกันหรือนอกประกัน
มีอะไหล่แท้ไว้รองรับการซ่อม พร้อมซ่อมได้ทันที
รับประกันงานซ่อม หากมีปัญหาในระยะเวลารับประกัน
มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แยกกันทำงานอย่างชัดเจน เช่น ช่างซ่อมเครื่องยนต์, ช่างซ่อมช่วงล่าง ฯลฯ
งานที่ทำออกมามีมาตรฐาน
ราคาแพงกว่าซ่อมอู่ เพราะมีค่าภาษี และค่าแรงที่สูงกว่า
ใช้เวลาในการซ่อมนาน เนื่องจากต้องรอคิวเข้าซ่อม และบางครั้งระยะเวลาในการซ่อมไม่แน่นอน
อะไหล่บางอย่างไม่เสีย แต่ก็จับเปลี่ยน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
บางจังหวัดอาจไม่มีศูนย์บริการยี่ห้อรถที่เราใช้
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อู่ในเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากบริษัทประกันที่เราทำไว้ เวลาเรานำรถไปซ่อม หรือไปเคลม สามารถนำรถเข้าไปซ่อมได้เลย และเมื่อซ่อมเสร็จก็นำรถออกมาได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน หรือเสียเงินเพิ่มเติม (ในกรณีที่ไม่ได้ซ่อมนอกเหนือจากที่ตกลงกับบริษัทประกันเอาไว้)
2. อู่นอกเครือบริษัทประกัน คืออู่ที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในการรับรองของบริษัทประกันที่เราทำไว้ ซึ่งมันอาจเป็นอู่ใกล้บ้านคุณ หรือเป็นอู่ที่คุณรู้จัก เป็นอู่ที่มีคนแนะนำว่าทำดี ทำจบ ฯลฯ ในกรณีอู่แบบนี้ คุณต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน จากนั้นจึงนำใบเสร็จไปเบิกกับบริษัทประกันภายหลัง
ค่าเบี้ยประกันรถถูกกว่าซ่อมห้าง
มีอู่ให้เลือกมากมาย ทั้งอู่ใกล้บ้าน หรืออู่ที่มีคนแนะนำ ฯลฯ
ราคาค่าซ่อมสามารถต่อรองได้ง่ายกว่าศูนย์บริการ
ระยะเวลาในการซ่อมไม่นานเท่าซ่อมห้าง
มีความเสี่ยงเรื่องอะไหล่ปลอม และบางครั้งอาจนำอะไหล่เก่ามาเปลี่ยนให้
หากเกิดปัญหาหลังซ่อม บางอู่อาจไม่รับผิดชอบ หรือแก้ไขให้
อาจโดนโกงเรื่องค่าอะไหล่ และค่าแรง ที่ถูกคิดเงินเกินจริง
งานซ่อมอาจออกมาไม่ดี ไม่เนี้ยบ ไม่สวย ขึ้นอยู่กับมาตราฐานของแต่ละอู่ซ่อม
จริงๆ แล้วการเลือกอู่ซ่อมเป็นเรื่องของความพึงพอใจและความสบายใจของเจ้าของรถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อเบี้ยประกันภันรถยนต์ที่ทำให้ถูก-แพงแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ อย่าลืมศึกษาเรื่องอู่ซ่อม เผื่ออนาคตคุณอาจต้องใช้บริการเคลมก็เป็นได้
11 มิ.ย. 2565
7 มี.ค. 2566
17 ต.ค. 2564